หลักสูตร จป บริหาร ลดราคา 40%

เรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร (จป บริหาร) โดยสถาบันการฝึกที่ได้รับอนุญาตจากกรมสวัสดิการ พร้อมมอบวุฒิบัตรหลังผ่านการอบรม

จป บริหาร คือใคร?

จป บริหาร หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร คือ ลูกจ้างที่ถูกแต่งตั้งโดยนายจ้างให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร (จป บริหาร) ซึ่งต้องผ่านการอบรม จป บริหาร ตามกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานฯ พ.ศ. 2565 พร้อมขึ้นทะเบียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นที่เรียบร้อย

หลักสูตร จป แบบ In House

จป หัวหน้างาน

จป หัวหน้างาน

เรียนรู้หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน

จป บริหาร1.4

จป บริหาร

เรียนรู้หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร

จป เทคนิค

จป เทคนิค

เรียนรู้หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิค

คปอ

คปอ.

เรียนรู้หลักสูตร คณะกรรมการความปลอดภัย ฯ ในการทำงาน

หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
(อบรม จป บริหาร)

หลักสูตร จป บริหาร  เป็นหลักสูตรที่สร้างขึ้นเพื่อสอนให้คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับหน้าที่และบทบาทของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยที่ระดับบริหารในองค์กร โดยเน้นการพัฒนาทักษะในการควบคุมและดูแลการทำงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานอย่างเหมาะสมและปลอดภัย

หลักสูตรนี้มีระยะเวลาอบรมทั้งหมด 12 ชั่วโมง (2 วัน) โดยมุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถประยุกต์ความรู้ในการวางแผนและบริหารโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันอุบัติเหตุในการทำงาน

ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการควบคุมความปลอดภัยในการทำงานที่มีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ความเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับงานและกิจกรรมในองค์กร การจัดทำแผนโครงการความปลอดภัยและการนำเสนอแผนโครงการนี้ต่อนายจ้าง เพื่อให้ได้รับการเห็นด้วยและการสนับสนุนในด้านความปลอดภัยในการทำงานจากบริหารองค์กร

ซึ่งในการอบรม เราเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจถึงความสำคัญของการควบคุมความปลอดภัยในการทำงานและวิธีการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยอาชีวอนามัย รวมถึงเรียนรู้เทคนิคและเครื่องมือในการวางแผนและบริหารโครงการความปลอดภัยอย่างเหมาะสม ทำให้สามารถใช้ความรู้เหล่านี้ในการป้องกันอุบัติเหตุและความเสี่ยงในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพให้กับองค์กรของคุณ

องค์กรควรส่งลูกจ้างเข้าอบรม จป บริหาร เมื่อใด

 หากองค์กรของคุณจัดอยู่ในสถานประกอบการบัญชีที่ 1, 2 และ 3 ที่ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 องค์กรของคุณจำเป็นต้องมีการแต่งตั้งลูกจ้างระดับบริหาร ภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันที่ถูกแต่งตั้งเป็นระดับบริหาร โดยลูกจ้างที่ถูกแต่งตั้งเป็นระดับบริหารต้องถูกส่งเข้าอบรม จป บริหาร

ดังนั้นลูกจ้างที่ถูกทางบริษัทหรือองค์กรแต่งตั้งเป็นลูกระดับบริหารจึงต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตร จป บริหาร (กรณีไม่มีลูกจ้างระดับบริหาร นายจ้างต้องเข้าอบรมเพื่อเป็น จป บริหารแทน)

คุณสามารถขึ้นทะเบียน จป กับกรมสวัสดิการแบบออนไลน์ได้แล้วที่นี่

บทบาทหน้าที่ จป บริหาร

จป.บริหาร มีความสำคัญในการให้ความสนับสนุนและบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัยในองค์กรหรือสถานประกอบกิจการ โดยบทบาทหลักๆ ที่กำหนดตามกฎหมายดังนี้

บทบาทหน้าที่ จป บริหาร1.1
บทบาทหน้าที่ จป บริหาร2.3
เมื่ออบรมจป บริหาร แล้ว1.0
เมื่ออบรมจป บริหาร แล้ว2.5
เมื่ออบรมจป บริหาร แล้ว3.1

เมื่ออบรมจป บริหาร แล้วสามารถสมัครตำแหน่งไหนได้บ้าง? 

ผู้ที่เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งรวมถึงการวางแผนและดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง การนำเสนอแผนโครงการด้านความปลอดภัย และการสื่อสารเพื่อสนับสนุนและเผยแพร่นโยบายความปลอดภัย

ทำให้ผู้ที่ผ่านการอบรมนี้สามารถสมัครตำแหน่งงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการทำงาน ได้รวมถึงตำแหน่งเป็นสมาชิกในคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน หรือเป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงาน

 

อีกทั้งยังมีโอกาสทำงานในหน่วยงานและสถาบันที่ส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาตนเองในอาชีพนี้

สรุปเป็นได้ว่า ผู้ที่เข้ารับการอบรม จป บริหาร จะมีโอกาสทำงานในตำแหน่งและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการทำงาน และสามารถพัฒนาอาชีพในสายงานนี้ได้ต่อไป

ทำไมต้องอบรม จป กับ Safety Member

ได้รับการรับรองการจากกรมสวัสดิการ

ได้รับอนุญาตศูนย์ฝึกอบรมความปลอดภัยอย่างเป็นทางการจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

BSI-original-178

มาตรฐานคุณภาพ ISO 9001

ลูกค้ามั่นใจว่าทุกกระบวนการบริการของเรานั้นมีมาตรฐานและสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน

ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า

เราได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าชั้นนำระดับประเทศมากกว่า 1000+ บริษัทให้คุณสามารถมั่นใจการเรียนกับเรา

เซฟตี้เมมเบอร์ ได้รับอนุญาตหน่วยฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

กรณีที่นายจ้างไม่สามารถจัดให้มีการฝึกอบรมให้แก่บุคคลตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้นายจ้างจัดให้บุคคลดังกล่าวเข้ารับการฝึกอบรมกับสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย

มาตรฐาน ISO 9001

หลักสูตรอบรม จป บริหาร

การอบรม จป หัวหน้างานถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสอนให้คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับหน้าที่และบทบาทของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยที่ระดับบริหารในองค์กร โดยเน้นการพัฒนาทักษะในการควบคุมและดูแลการทำงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

การอบรม จป หัวหน้างาน

จป.บริหาร

เริ่มต้น 2,000 /ท่าน

ลงทะเบียน อบรม จป คปอ (บุคคลทั่วไป)

สมัครอบรมได้แล้ววันนี้

รังสิต-ทียูโดม-ม.ธรรมศาสตร์

มกราคม – กุมภาพันธ์ 2568

หลักสูตร
วันที่
ราคา/ท่าน
สมัคร
จป หัวหน้างาน
13-14 ม.ค
2,300
register1
จป บริหาร
23-24 ม.ค
2,300
register1
จป เทคนิค
27-31 ม.ค
7,300
register1
คปอ
20-21 ม.ค
2,300
register1
อบรม-จป-หินกอง-ศูนย์ฝึกอบรม-เซฟสิริ

มกราคม – กุมภาพันธ์ 2568

หลักสูตร
วันที่
ราคา/ท่าน
สมัคร
จป หัวหน้างาน
20-21 ม.ค
2,300
register1
จป หัวหน้างาน
20-21 ก.พ
2,300
register1
จป บริหาร
30-31 ม.ค
2,300
register1
คปอ
24-25 ก.พ
2,300
register1

มกราคม – กุมภาพันธ์ 2568

หลักสูตร
วันที่
ราคา/ท่าน
สมัคร
จป หัวหน้างาน
17-18 ม.ค
2,000
register1
จป บริหาร
27-28 ม.ค
2,000
register1
จป เทคนิค
20-24 ม.ค
5,900
register1
คปอ
15-16 ม.ค
2,000
register1

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม จป บริหาร

1. เป็นลูกจ้างที่ถูกแต่งตั้งระดับบริหารของหน่วยงาน

2. นายจ้างยินยอม ได้รับการยินยอมจากนายจ้างให้เข้ารับการอบรม

ขั้นตอนเข้ารับการอบรม จป บริหาร

1. เตรียมบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือรับรองที่ราชการออกให้

2. เปิดกล้องตลอดการอบรมเพื่อยืนยันตัวตน

3. ลงทะเบียนเช้า 8.00 – 8.30 และ บ่าย 12.30 – 13.00

4. USERNAME ใน Zoom ให้เปลี่ยนเป็นชื่อ-นามสกุลให้ใช้ชื่อ-นามสกุลจริงตามบัตรประจำตัวประชาชน

5. ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม

6. เข้ารับการอบรมระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด

7. ระหว่างการอบรมจะมีการสุ่มเช็คชื่อ โดยการจับภาพหน้าจอ หากท่านไม่อยู่ ขอตัดสิทธิ์ในการแจกวุฒิบัตร

8. ผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมจะต้องเป็นผู้ที่มีรายชื่อในใบลงทะเบียนเท่านั้น

9. ทำการทดสอบหลังการอบรมผ่านเกณฑ์การทดสอบ 60% ขึ้นไป หากไม่ผ่านเกณฑ์จะไม่ได้รับวุฒิบัตร

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม จป บริหาร1.3

—- ภาพบรรยายกาศอบรมจริง —-

เราได้รับความไว้วางใจในการฝึกอบรมจากลูกค้าชั้นนำ

ภาพบรรยากาศอบรม จป บริหาร

ภาพบรรยากาศอบรม จป บริหาร1.1

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอบรม จป

เราได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อีกทั้งยังได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าชั้นนำระดับประเทศมากกว่า 1000+ บริษัทที่ทำการฝึกอบรม จป บริหารกับเราอย่างต่อเนื่องด้วยหลักสูตรการเรียนที่ได้มาตรฐานและภาคปฏิบัตินักเรียนได้ฝึกกับอุปกรณ์ของจริงทำให้เกิดทักษะและสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย อีกทั้งเรายังได้รับการรับรองมาตรฐานด้านคุณภาพ ISO 9001 เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าทุกกระบวนการบริการของเรานั้นสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอนอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันเรามีหลักสูตรอบรม จป ที่เปิดคือ 

ผู้เข้าอบรมจะได้รับวุฒิบัตรเมื่อผ่านการทดสอบหลังการอบรม โดยมีเกณฑ์ 60% ขึ้นไป (หากไม่ผ่านจะไม่ได้รับวุฒิบัตร) โดยใช้ระยะเวลา 14 วันหลังจากการประกาศผ่านการทดสอบ

หลังจากได้รับการอบรมและขึ้นทะเบียนเป็นจป บริหารแล้ว ไม่มีระยะเวลาหรือวันหมดอายุสำหรับการใช้เลขทะเบียนนั้น หากสถานประกอบการได้ส่งลูกจ้างไปอบรมจป บริหารและทะเบียนแล้ว สามารถใช้เลขทะเบียนนั้นได้ตลอดไปจนกว่าลูกจ้างคนนั้นจะลาออกจากตำแหน่งในองค์กรหรือสถานประกอบกิจการนั้น ๆ

กิจการที่ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยฯ กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ใช้บังคับแก่กิจการหรือสถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้

บัญชี 1

  1. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  2. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
  4. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
  5. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ

บัญชี 2

  1. อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
  2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
  3. อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
  4. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
  5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  6. อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
  7. อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
  8. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
  9. อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
  10. อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
  11. อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
  12. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
  13. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
  14. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
  15. อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
  16. อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  17. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  18. อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
  19. อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
  20. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
  21. อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
  22. อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
  23. อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
  24. อุตสาหกรรมของเล่น
  25. อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
  26. อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
  27. อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
  28. อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
  29. อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
  30. อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
  31. สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
  32. คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
  33. การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  34. อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
  35. อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  36. การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
  37. อุตสาหกรรมการขนส่ง
  38. การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
  39. กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
  40. กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
  41. การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
  42. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  43. กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
  44. ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
  45. ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
  46. โรงพยาบาล
  47. การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
  48. การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
  49. สวนสัตว์หรือสวนสนุก

บัญชี 3

  1. ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
  2. ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  3. สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
  4. การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
  5. โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
  6. โรงถ่ายทำภาพยนต์หรือละคร
  7. สวนพฤกษศาสตร์
  8. สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
  9. สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
  10. สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2
ติดต่อ / สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

โทรศัพท์ : 064 958 7451 (คุณแนน)

ใบอนุญาตกรมสวัสดิการฯ

คลิกรูปเพื่อขยาย

ได้รับมาตรฐาน ISO 9001

คลิกรูปเพื่อขยาย

บริษัท เซฟตี้ เมมเบอร์

เลขที่ 349 อาคารเอสเจ อินฟินิท วัน บิสซิเนส คอมเพล็กซ์ ชั้น 20 ห้องเลขที่ 2001-2005  ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

อีเมล
โทรศัพท์

คุณ แนน

เพิ่มเพื่อน

©2024 SAFETYMEMBER. Developed website and SEO by iPLANDIT