บริการตรวจสอบอาคาร ประจำปี
โดยวิศวกรที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
รับตรวจสอบอาคาร แบบประจำปี (ทุก 1ปี) และแบบใหญ่ (ทุก 5ปี) โดยวิศวกรที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบจากคณะกรรมการควบคุมอาคารอย่างถูกต้อง พร้อมออกรายงานรับรองตรวจสอบอาคารหลังตรวจ
บริการตรวจสอบอาคาร
รับตรวจสอบอาคาร รายละเอียดตามกฎหมายกำหนด ออกใบรับรองหลังตรวจ พร้อมเดินทางให้บริการทั่วไทย
บริการออกแบบอาคาร
รับออกแบบโครงสร้างอาคาร ด้วยเครื่องมือ 3D พร้อมยื่นขออนุญาตกับหน่วยงานราชการ ในราคาย่อมเยา
บริการตรวจสอบอาคารตามกฎหมาย
การตรวจสอบอาคารตามกฎหมาย บังคับให้ประเภทอาคารที่กฎหมายกำหนด ต้องมีการตรวจสอบอาคารประจำทุกปี และตรวจสอบใหญ่ประจำ 5 ปี โดยมีทั้งการตรวจสอบความมั่นคงของอาคาร จนกระทั่งระบบและอุปกรณ์ภายในอาคารที่ส่งผลต่อความปลอดภัย เช่น ระบบลิฟท์ ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำปะปา เป็นต้น
ซึ่งเราพร้อมบริการตรวจสอบอาคารทั้งแบบตรวจสอบประจำปีและแบบใหญ่ทุก 5 ปี โดยวิศวกรที่ผ่านการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง พร้อมออกใบรับรองหลังตรวจใช้บริการวันนี้ลดราคาทันที 40%
- – มาตรา 2 มาตรา 4 และมาตรา 32 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
- – กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. 2548
ทำไมต้องใช้บริการตรวจเครน Safety Member
อุปกรณ์มาตรฐาน ISO/IEC 17025
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานของเราได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพื่อให้มั่นใจในความแม่นยำของผลลัพธ์
มาตรฐานคุณภาพ ISO 9001
ลูกค้ามั่นใจว่าทุกกระบวนการบริการของเรานั้นมีมาตรฐานและสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน
ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า
เราได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าชั้นนำระดับประเทศมากกว่า 1000+ บริษัทให้คุณสามารถมั่นใจการเรียนกับเรา
โปรโมชั่นตรวจสอบอาคาร ลด40%
ตรวจสอบอาคารประจำปี
- มาตรฐาน พรบ. ควบคุมอาคาร
- มาตรฐานวิศวกรรมสถาน (วศท)
- มาตรฐาน ISO 9001:2015
- ตรวจสอบโดยวิศวกรขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง
- เสนอแนะรายการปรับปรุงอาคาร
- ออกรายงานรับรองเพื่อยื่นราชการ
ตรวจสอบใหญ่ (ทุก 5 ปี)
- ตรวจโครงสร้างอาคาร
- ตรวจระบบและอุปกรณ์อาคาร
- จัดทำแผนแผนปฏิบัติการการตรวจบํารุงอาคารและอุปกรณ์
- จัดทำแผนแผนปฏิบัติการการตรวจบํารุงอาคารและอุปกรณ์ ประจำปี
- ตรวจสอบโดยวิศวกรขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง
- จัดทำคู่มือปฏิบัติการตามแผน
ขอบเขตการตรวจสอบอาคาร
— โดยวิศวกรมืออาชีพ —
ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร |
---|
ตรวจการต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร |
ตรวจการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร |
ตรวจการเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร |
ตรวจการเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร |
ตรวจการชำรุดสึกหรอของอาคาร |
ตรวจการวิบัติของโครงสร้างอาคาร |
ตรวจการทรุดตัวของฐานราก |
ตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบต่างๆของอาคาร |
---|
ตรวจระบบลิฟต์ |
ตรวจระบบไฟฟ้า |
ตรวจระบบปรับอากาศ |
ตรวจระบบประปา |
ตรวจระบบระบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย |
ตรวจระบบระบายน้ำฝน |
ตรวจระบบจัดการมูลฝอย |
ตรวจระบบระบายอากาศ |
ตรวจสอบระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย |
---|
ตรวจระบบบันไดหนีไฟและทางหนีไฟ |
ตรวจเครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน |
ตรวจระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน |
ตรวจระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน |
ตรวจระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ |
ตรวจติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง |
ตรวจระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้าดับเพลิง และหัวฉีดน้าดับเพลิง |
ตรวจระบบดับเพลิงอัตโนมัติ |
ตรวจระบบป้องกันฟ้าผ่า |
ตรวจแบบแปลนเพื่อการดับเพลิง |
สมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของอาคาร |
---|
ตรวจสมรรถนะของบันไดหนีไฟและทางหนีไฟ |
ตรวจสมรรถนะเครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน |
ตรวจสมรรถนะระบบแจ้งสัญญาณเหตุเพลิงไหม้ |
ตรวจระบบบริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยในอาคาร |
หมายเหตุ
- : ออกใบรับรองการตรวจอาคาร (อาคารอยู่ในเกณฑ์กำหนด)
- : ออกรายงานเสนอแนะให้มีการปรับปรุงอาคาร (หลังตรวจพบข้อแก้ไข)
ความสำคัญของการตรวจสอบอาคาร
หากคุณคิดว่าการสร้างแบบอาคารตามกฎหมายกำหนดแล้ว ทำไมต้องมาตรวจอาคารประจำทุกปีอีก ซึ่งความปลอดภัยในการใช้งานอาคารและระบบภายในอาคารมันไม่ได้จบเพียงเริ่มแรกในการสร้างอย่างปลอดภัยแล้วเพียงพอ ทุกคนต่างรู้ดีว่าสิ่งของใดๆก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปย่อมผุพัง ตามเวลาซึ่งจุดเหล่านี้อาจทำให้เกิดความอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยหรือใช้งานได้
เจ้าของอาคารจึงควรให้ความสำคัญของการตรวจสอบอาคารไม่เพียงแต่เพิ่มความมั่นใจในสภาพของอาคารและระบบต่าง ๆ ภายในอาคาร แต่ยังเป็นการป้องกันความเสียหายและอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว ทั้งนี้การเลือกผู้ตรวจสอบอาคารที่ดีจะทำให้คุณสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง และสามารถยื่นเอกสารตามกฎหมายได้อย่างถูกต้องไม่วุ่นวายในภายหลัง
9 ประเภทอาคารที่ต้องตรวจสอบ
อาคารที่เข้าข่ายต้องมีการตรวจสอบอาคารตามมาตรา 2 มาตรา 4 และมาตรา 32 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 มีดังนี้
เป็นอาคารที่มีคนอยู่ หรือมีการใช้งาน ที่มีความสูง 23 เมตรขึ้นไป (วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สําหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยา ให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด)
เป็นอาคารที่อยู่อาศัยหรือประกอบ กิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภทโดยมีพื้นที่ รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกัน ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร ขึ้นไป
เป็น อาคารที่มีส่วนใดของอาคารที่บุคคลอาจเข้าไปภายใน เพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนในปริมาณมากตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป
เป็นอาคารที่มีส่วนใดส่วนหนึ่ง ใช้สําหรับ ฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือการแสดงรื่นเริง ที่ให้ผู้คนเข้ามาชมแสดงโดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
โรงแรมที่มีจํานวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องต่ออาคารขึ้นไป
เป็น อาคารมีส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย สำหรับหลายครอบครัว โดยจะแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป
โรงงานที่มีความสูงมากกว่า 1 ชั้น และ มีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป
ป้ายหรือสิ่งก่อสร้างสําหรับติดตั้งป้ายซึ่งมีความสูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป มีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตร ขึ้นไป
ป้ายที่ติดตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป
สถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป
เจ้าของอาคารต้องปฏิบัติอย่างไร
- ตรวจสอบอาคารของคุณจัดอยู่ใน 9 ประเภทอาคารที่ต้องตรวจสอบหรือไม่
- ปฏิบัติตามแผนการตรวจบำรุงรักษา แบ่งเป็นการตรวจสอบประจำปี (ทุก 1ปี) และตรอบสอบใหญ่ (ทุก 5ปี)
- ถ้าผู้ตรวจพบจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ให้เจ้าของอาคารทำการปรับปรุงตามรายงาน
- จากนั้นเรียกผู้ตรวจสอบมาตรวจอาคารอีกครั้ง
- เมื่อผ่านการตรวจสอบอาคารแล้วนำใบรายงานไปแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
- โดยต้องส่งเอกสารภายใน 30 วันก่อนใบรับรองตรวจอาคารอันเก่าจะหมดอายุ
ปัญหาการต่อเติมอาคาร
การดัดแปลงอาคารที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในการตรวจสอบอาคาร เนื่องจากความต้องการหรือการใช้งานที่เปลี่ยนแปลง แต่มีปัญหาในด้านความปลอดภัย แล้วดัดแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายต้องทำอย่างไร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับตรวจอาคาร
เราพร้อมให้บริการตรวจสอบอาคารทุกพื้นที่ทั่วไทย ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดกรุงเทพ ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ นนทบุรี สระบุรี ชลบุรี โคราช และจังหวัดอื่นๆทั้ง 77 จังหวัด
เมื่อครบรอบกำหนดการตรวจสอบอาคาร ทั้งลักษณะการตรวจอาคารแบบประจำปี และ การตรวจอาคารแบบใหญ่ (5 ปี) เจ้าของต้องใช้บริการตรวจอาคารจากผู้ตรวจที่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย เพื่อให้ได้ใบรับรองผ่านการตรวจสอบอาคารที่ปลอดภัย นำไปยื่นภายใน 30 วันก่อนใบรับรองเก่าหมดอายุ
การตรวจสอบอาคาร คือ กระบวนการการตรวจสอบและประเมินสภาพของอาคาร เพื่อความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัย รวมถึงระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของอาคาร โดยการตรวจสอบอาคารนี้สิ่งสำคัญในปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เชื่อมั่นว่าอาคารมีความสมบูรณ์และเป็นไปตามข้อบังคับและข้อกำหนดที่ระบุไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง