คุณสมบัติผู้ตรวจเครน ตามกฎหมายกำหนด มีอะไรบ้าง

by pam
34 views
คุณสมบัติผู้ตรวจเครน ตามกฎหมาย

เครน (Crane) หรือปั้นจั่น เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการยกและเคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมากในโรงงานอุตสาหกรรม ไซต์ก่อสร้าง และสถานประกอบการต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การใช้เครนจำเป็นต้องมีมาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวดเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น หนึ่งในมาตรการที่สำคัญคือการตรวจสอบและทดสอบเครนโดย ผู้ตรวจเครน ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

ความสำคัญของการตรวจสอบเครน

เครนเป็นเครื่องจักรที่ต้องรองรับน้ำหนักมากและทำงานภายใต้แรงดันสูง หากไม่มีการตรวจสอบและบำรุงรักษาที่เหมาะสม อาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น เครนพังถล่ม สายสลิงขาด หรือโหลดตกจากเครน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ปฏิบัติงานและองค์กร

ดังนั้น การตรวจสอบเครนอย่างถูกต้องตามมาตรฐานจึงเป็นสิ่งที่นายจ้างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องดำเนินการโดยบุคลากรที่มีคุณสมบัติ และได้รับการรับรองตามกฎหมาย

คุณสมบัติของผู้ตรวจเครนตามกฎหมาย

  1. เป็นวิศวกรเครื่องกล หรือวิศวกรสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (กว.) และเป็นวิศวกรระดับภาคีขึ้นไป 
  2. ต้องได้รับการอนุญาตจากนิติบุคคลที่ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา 11

  3. ต้องได้รับการอนุญาตจากบุคคลที่ได้รับการอนุมัติจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา 9

สำหรับการได้รับอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น 9 หรือ 11 สามารถเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ต่างกันเพียงแค่เป็น นิติบุคคล กับบุคลลธรรมดา

คุณสมบัติวิศวกรตรวจเครน

คุณสมบัติวิศวกรตรวจเครน เพิ่มเติมที่นายจ้างต้องทราบ

ตาม กฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ.2565 ได้แบ่ง ระดับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเครื่องกลตามข้อกำหนดของสภาวิศวกรมีทั้งหมด 3 ระดับ ดังนี้:

  1. ภาคีวิศวกร

  2. สามัญวิศวกร

  3. วุฒิวิศวกร

โดยระดับใบประกอบวิชาชีพจะมีผลต่อการรับรองเครน โดยงานตรวจสภาพและทดสอบเครน (ปจ1 ปจ2) มีข้อกำหนดว่า

  •  วิศวกรสามัญ และ วิศวกรวุฒิ สามารถตรวจสอบเครื่องจักรได้ทุกรูปแบบ โดยไม่จำกัดขนาดกำลัง
  •  วิศวกรภาคี สามารถตรวจสอบเครื่องจักรที่มีขนาดกำลังไม่เกิน 100 กิโลวัตต์ (KW) ต่อเครื่อง
  •  วิศวกรพิเศษ สามารถตรวจสอบได้เฉพาะเครื่องจักรที่ระบุในใบอนุญาตเท่านั้น

ก่อนใช้บริการตรวจเครน นายจ้างจึงควรสอบถามด้วยว่า วิศวกรที่จะมาตรวจสอบอยู่ในระดับไหน และมาเทียบขนาดกำลังเครื่องจักรของคุณ ผู้ให้บริการเครน สามารถตรวจรับรองได้หรือไม่

หน้าที่ของผู้ตรวจปั้นจั่น

หน้าที่ของผู้ตรวจปั้นจั่น

ผู้ตรวจปั้นจั่นต้องดำเนินการตรวจสอบและทดสอบปั้นจั่น ให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งประกอบด้วย

1 ตรวจสอบด้านโครงสร้าง

  • ตรวจสอบโครงสร้างหลักของเครน ว่ามีการแตกร้าว ผุกร่อน หรือบิดเบี้ยวหรือไม่
  • ตรวจสอบรอยเชื่อมของโครงสร้างว่ามีการแตกร้าวหรือหลุดร่อนหรือไม่

2. ตรวจสอบอุปกรณ์ควบคุมและระบบไฟฟ้า

  • ตรวจสอบ มอเตอร์ สวิตช์ควบคุม รีเลย์ และแผงวงจรไฟฟ้า
  • ตรวจสอบการทำงานของ เบรกและอุปกรณ์ป้องกันโหลดเกิน (Overload Protection System)

3. ตรวจสอบอุปกรณ์ยกและส่วนประกอบอื่น ๆ

  • ตรวจสอบ สลิง รอก และตะขอเกี่ยว ว่ามีความเสียหายหรือไม่
  • ตรวจสอบการทำงานของระบบ ลิมิตสวิตช์ (Limit Switch)

4. ทดสอบโหลดเทส (Load Test)

  • ทดสอบการยกของเครนด้วยน้ำหนักที่กำหนดเพื่อดูว่าเครนสามารถรับน้ำหนักได้ตามข้อกำหนดหรือไม่
  • ตรวจสอบแรงดึงของลวดสลิงและอุปกรณ์ล็อกความปลอดภัย

เครนที่ต้องมีการตรวจสอบตามกฎหมาย

นายจ้างอาจสงสัยว่าเครนชนิดไหนบ้างต้องมีการตรวจเครน เราต้องตอบเลยว่าเครนทุกชนิดต้องตรวจ

ซึ่งก็จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ (ปจ.1) และ ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ (ปจ.2)  หากปั้นจั่นของคุณจัดอยู่ในชนิดไหน ก็จะต้องขอการตรวจสอบปั้นจั่นตามชนิด ตัวอย่างประเภทเครนที่ต้องตรวจเช่น

  •  เครนเหนือศีรษะ (Overhead Crane) – ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและโกดังสินค้า
  •  เครนติดตั้งกับยานพาหนะ (Truck Crane) – ใช้ในงานก่อสร้างและขนส่งวัสดุ
  •  เครนหอสูง (Tower Crane) – ใช้ในงานก่อสร้างอาคารสูง
  •  เครนเคลื่อนที่ (Mobile Crane) – ใช้ในงานก่อสร้างขนาดใหญ่
  •  เครนแขนหมุน (Jib Crane) – ใช้ในโรงงานและท่าเรือ

ข้อมูลรายงานตรวจสอบเครน

รายงานตรวจสอบเครน ต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง

หลังจากการตรวจสอบและทดสอบเสร็จสิ้น ผู้ตรวจสอบต้องออกเอกสาร รายงานการตรวจสอบเครนให้กับสถานประกอบการ เอกสารนี้ต้องแสดงรายละเอียดต่าง ๆ เช่น

  • ชื่อรุ่นและหมายเลขเครื่องของเครน
  • วันเวลาที่ทำการตรวจสอบ
  • ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ
  • ข้อมูลผู้ตรวจสอบ
  • ลายเซ็นของผู้ตรวจสอบที่ได้รับอนุญาต
  • แนบภาพถ่ายวิศวกรกำลังตรวจเครน
  • เอกสารเพิ่มเติม เช่น สำเนาใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม, Calibration, สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร, สำเนาใบอนุญาติการเป็นผู้ให้บริการทดสอบปั้นจั่นขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ,มครองแรงงาน

ความถี่ในการตรวจสอบเครน

การตรวจสอบเครนต้องทำบ่อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น ประเภทการใช้งานเครน ระยะเวลาการใช้งาน สภาพแวดล้อมที่ใช้งานเครน ตามที่ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. 2554 กำหนดให้มีการตรวจเครน ซึ่งแบ่งแยกได้เป็น 4 กรณีดังนี้

1. เครนสำหรับงานก่อสร้าง

    • ขนาดพิกัดไม่เกิน 3 ตันให้มีการทดสอบทุก 6 เดือน
    • ขนาดพิกัดมากกว่า 3 ตัน ให้มีการทดสอบทุก 3 เดือน

2. เครนสำหรับงานอื่นๆ

    • ขนาดพิกัด 1 ตันไม่ถึง 3 ตัน ให้มีการทดสอบทุก 1 ปี
    • ขนาดพิกัดมากกว่า 3 ตัน ไม่เกิน 50 ตัน ให้มีการทดสอบทุก 6 เดือน
    • ขนาดพิกัดมากกว่า 50 ตันให้มีการตรวจสอบทุก 3 เดือน

3. เครนที่ไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัย ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดน้ำหนักยก

4.เครนที่ไม่มีการใช้งานมาเป็นเวลา 6 เดือนให้ทดสอบใหม่ก่อนใช้งาน

สรุป

ก่อนเลือกใช้บริการตรวจเครนต้อง ทราบว่าผู้ตรวจเครนควรมีคุณสมบัติตามที่กฎหมาย คือเป็นวิศกวกรเครื่องกล หรือสาขาที่เกี่ยวข้องระบบภาคีขึ้นไป  และต้องได้รับการขึ้นทะเบียนเป้นผู้ตรวจสอบตามมาตรา 9 หรือ 11 เพื่อความมั่นใจว่ามีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบโครงสร้าง ระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ความปลอดภัยต่าง ๆ การตรวจสอบเป็นประจำและการออกใบรับรองอย่างถูกต้องจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นและทำให้สถานประกอบการดำเนินงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

การปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบเครนไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ แต่ยังเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบขององค์กรต่อความปลอดภัยของพนักงานและสังคมอีกด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจให้บริการตรวจเครน กับวิศวกรเครื่องกลระดับสามัญที่ เซฟตี้เมมเบอร์ เรามีบริการตรวจเครน ทุกชนิด (ปจ1 ปจ2) พร้อมเดินทางให้บริการ 77 จังหวัด สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

บริการ : ตรวจเครน ปจ1 ปจ2

ติดต่อสอบถาม : อีเมล Sale@safetymember.net / โทร (064) 958 7451 (คุณแนน)


บทความที่น่าสนใจ

บทความน่าสนใจ

ใบอนุญาตกรมสวัสดิการฯ

คลิกรูปเพื่อขยาย

ได้รับมาตรฐาน ISO 9001

คลิกรูปเพื่อขยาย

บริษัท เซฟตี้ เมมเบอร์

เลขที่ 349 อาคารเอสเจ อินฟินิท วัน บิสซิเนส คอมเพล็กซ์ ชั้น 20 ห้องเลขที่ 2001-2005  ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

อีเมล
โทรศัพท์

คุณ แนน

เพิ่มเพื่อน

©2025 SAFETYMEMBER. Developed website and SEO by iPLANDIT