ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า มีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าที่สำคัญในสถานประกอบการ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบไฟฟ้าทำงานได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยการใช้งาน การที่ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าไม่มีคุณสมบัติหรือความรู้ด้านไฟฟ้าโดยเฉพาะที่เพียงพอ ทำให้อาจละเลยจุดสำคัญของระบบไฟฟ้า ซึ่งจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ไฟช็อต จนกระทั่งอาจเกิดการระเบิดไฟไหม้ที่จะสร้างควาเสียหายอย่างรุนแรง ดังนั้นกฎหมายจึงได้กำหนดให้ ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า
ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติตรวจสอบระบบไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 ฉบับซึ่งเราจะสรุปคุณสมบัติตรวจสอบระบบไฟฟ้า ที่ต้องมีดังนี้
1.เป็นวิศวกรไฟฟ้า มีใบกว.
จากกฎกระทรวง กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 2550 กำหนดให้ผู้ตรวจสอบไฟฟ้าต้องที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาไฟฟ้าตามกฎหมายว่าด้วย วิศวกร ซึ่งในการใช้บริการก็จะแบ่งเป็นแบบย่อยคือบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
1.1) ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า แบบบุคคลธรรมดา
ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าที่เป็นบุคคลธรรมดา คือวิศวกรไฟฟ้าของโรงงานนั้นๆเพื่อให้สามารถำงานในการตรวจสอบไฟฟ้าได้ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรที่ 9 โดยเป็นผู้ที่ให้บริการในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 จะต้องขึ้นทะเบียนต่อสำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ข้อดี : ประหยัดค่าใช้จ่าย
ข้อเสียที่พบเจอ : เสี่ยงต่อความรับผิดชอบที่ตามมาหากเกิดความผิดพลาด โรงงานส่วนใหญ่จึงนิยมใช้การตรวจสอบจาก วิศวกรไฟฟ้า นิติบุคคลเพื่อให้มีประกันความรับผิดชอบหากเกิดความเสียหาย
1.2) ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้า แบบนิติบุคคล
ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าที่เป็นนิติบุคคล คือบริษัทที่เปิดบริการรับตรวจสอบระบบไฟฟ้า โรงงาน อาคาร สำนักงาน ตึก ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรที่ 11 โดยเป็นผู้ที่ให้บริการในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 จะต้องต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี
ข้อดี : มีอุปกรณ์ตรวจสอบพร้อมผ่านมาตรฐานการสอบเทียบ ISO/IEC 17025, มีความเชี่ยวชาญ, ให้คำแนะนำได้มีประสบการณ์หลากหลาย และที่สำคัญคือหากมีความผิดพลาดสามารถฟ้องร้องความเสียหายได้
ข้อเสียที่พบเจอ : ค่าใช้บริการเเพงกว่า
ต้องใช้เอกสารขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบไฟฟ้ามาตรา 9 อะไรบ้าง
ตามกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนและการอนุญาตให้บริการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน พ.ศ. ๒๕๖๔ ข้อ ๖ ได้กำหนดเอกสารที่ใช้ยื่นขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบไฟฟ้าตามมาตรา 9 ไว้ท้ายประกาศสามารถดาวน์โหลดเพื่อกรอกเอกสารได้ที่นี่ —> ดาวน์โหลดเอกสารยื่น
โทษการใช้ผู้ตรวจสอบระบบไฟไฟ้าที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน
สำหรับองค์กร อาคาร ตึก ที่ต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าหากมีการใช้ผู้ตรวจสอบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 และ มาตรา11 พรบ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ. 2554 ได้กำหนดบทลงโทษ คือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
วิธีเช็คผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบระบบไฟฟ้า
ซึ่งในบางครั้งนายจ้าง หรือเจ้าของตึกก็อาจถูกหลอกจากมิจฉาชีพว่ามีคุณสมบัติเพียงพอในการตรวจสอบ ซึ่งไม่ใช่เรื่องกังวลอีกต่อไปคุณสามารถใช้เว็บของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในการตรวจสอบเลขทะเบียนได้ทั้งแบบ มาตรา 9 และ 11 ได้ที่นี่ —> ตรวจสอบผู้ได้รับอนุญาต
สรุป
ในการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ควรมีการตรวจประจำทุก 1 ปีซึ่งควรใช้ผู้ที่ได้รับอนุญาติในการตรวจสอบระบบไฟฟ้าอย่างถูกต้อง โดยมีคุณสมบัติผุ้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าคือ เป็นวิศวกรไฟฟ้า แบบบุคคลธรรม (ขึ้นทะเบียนตามมาตร 9) และ เป็นวิศวกรไฟฟ้า แบบนิติบุคคล (ได้รับอนุญาตตามมาตร 11) ซึ่งจะมีข้อดีข้อเสียใจการใช้บริการแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความพึ่งพอใจในการเลือกใช้ของคุณ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพสามารถขอเลขใบสำคัญ นำไปเช็คได้